วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

การใช้ข้อมูลสถิติ

การใช้ข้อมูลสถิติ

การใช้ข้อมูลสถิติ ผู้ใช้ข้อมูลจำเป็นจะต้องศึกษาภูมิหลังหรือความเป็นมาของข้อมูลสถิติที่จะนำ มาใช้เพื่อสามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้ข้อมูลใดหรือเชื่อถือข้อมูลที่มีอยู่มากน้อยเพียงใด การใช้ข้อมูลสถิติ มีหลักเกณฑ์ที่ผู้ใช้ข้อมูลควรพิจารณา ดังนี้

1. คำจำกัดความ / คำนิยาม (definition/concept) ในการผลิตข้อมูลจำเป็นต้องกำหนด ความหมายหรือคำจำกัดความหรือคำนิยามของคำที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้รู้ขอบเขตขอ งข้อมูล สถิติ ซึ่งข้อมูลสถิติเรื่องเดียวกันอาจแตกต่างกันได้เนื่องมาจากคำนิยาม / คำจำกัดความที่ใช้ไม่เหมือนกัน เช่น คำว่า " รายได้ " อาจหมายถึง รายได้ที่เป็นตัวเงินอย่างเดียว หรือรายได้ที่เป็นทั้งตัวเงินและที่ไม่เป็นตัวเงิน เป็นต้น

2. การจัดจำแนกข้อมูล (classification) เป็นการจัดประเภทข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล การจัดจำแนกข้อมูล ควรเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น การจัดจำแนกอาชีพ อุตสาหกรรม การศึกษา หมวดอายุ ฯลฯ ข้อมูลสถิติในเรื่องเดียวกัน ถ้ามีการจำแนกข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันก็สามารถ จะเปรียบเทียบกันได้

3. ระเบียบวิธีสถิติ (Statistical Methodology) เป็นระเบียบวิธีการผลิตข้อมูล เช่น วิธีการสำรวจซึ่งต้องอาศัยระเบียบวิธีการสุ่มตัวอย่าง สำหรับแผนแบบการสุ่มตัวอย่าง / การเลือกตัวอย่างมี หลายวิธี และแต่ละวิธีจะทำให้ได้ค่าประมาณ ( ผลการสำรวจ ) ที่ได้แตกต่างกันไป ดังนั้นข้อมูลในเรื่องเดียวกัน ถ้าใช้ระเบียบวิธีแตกต่างกัน ข้อมูลสถิติและผลการสำรวจก็จะแตกต่างกัน

4. คาบเวลาที่ข้อมูลอ้างถึง (reference period) ในการจัดทำสถิติคาบเวลาที่ข้อมูลอ้างถึงมีความสำคัญ มาก เพราะจะทำให้ทราบว่าข้อมูลสถิติที่รวบรวมได้เป็นของช่วงเวลาใด หรืออ้างอิงขณะใด เช่น คาบเวลาที่ข้อมูลอ้างถึงของสถิติจำนวนประชากรของโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ . ศ .2543 คือ วันที่ 1 เมษายน 2543 หรือการเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจการของสถานประกอบการธุรกิจ พ . ศ .2542 ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2542 คาบเวลาที่ข้อมูลอ้างถึงคือ ปี 2541 หมายถึง การดำเนินกิจการตั้งแต่ มกราคม - ธันวาคม 2541 ( ปีบัญชี ) ทั้งนี้ คาบเวลาที่ข้อมูลอ้างถึงกับคาบเวลาที่เก็บรวบรวมข้อมูลอาจแตกต่างกัน หรือเป็นช่วงเวลาเดียวกันก็ได้

5. คุ้มรวม (Coverage) ในการจัดทำสถิติจำเป็นต้องกำหนดคุ้มรวม เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลได้ทราบถึง ขอบเขตของข้อมูลว่าครอบคลุมแค่ไหน เช่น คุ้มรวมของครัวเรือนเกษตร โครงการสำรวจการเปลี่ยนแปลง ทางการเกษตร พ . ศ .2541 หมายถึง ครัวเรือนเกษตรที่มีเนื้อที่เพาะปลูกตั้งแต่ 2 ไร่ขึ้นไป หรือเลี้ยงปศุสัตว์ ตามประเภท / จำนวนที่กำหนด หรือ มีรายได้ต่อปีจากการขายผลิตภัณฑ์เกษตรตั้งแต่ 6,000 บาทขึ้นไป เป็นต้น